รากเทียม
รากเทียมคืออะไร
เป็นการรักษาทางทันตกรรมโดยการฝังรากเทียมลงไปเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป หรือสูญเสียไปจากอุบัติเหตุ
ในการรักษาทันตแพทย์จะทำการฝังวัสดุไทเทเนียมลงไปในขากรรไกรและรอให้กระดูกเข้ามายึดติด ซึ่งโดยปกติแล้วพื้นผิวของรากเทียมบริเวณเกลียวจะมีสารกระตุ้นเพื่อให้มีการก่อตัวของเซลล์กระดูกให้ยึดกับรากเทียม
รากเทียมประกอบด้วย 3 ส่วน
-
รากเทียม (Fixture)
-
แกนยึด (Abutment) สำหรับขันลงไปในรากเทียม
-
ส่วนครอบ(Crown) ที่จะมายึดอยู่กับตัวแกนฟัน
ขั้นตอนในการรักษา
1. ปรึกษาทันตแพทย์
เข้าพบทันตแพทย์เพื่อปรึกษาและตรวจช่องปาก เอกซเรย์ พิมพ์ฟันเพื่อประกอบการวางแผนการรักษา
ทันตแพทย์รากเทียมจะต้องประเมินทั้งสภาพกระดูก เหงือก และการสบฟัน เพื่อคุยแผนการรักษาและประเมินค่าใช้จ่ายกับคนไข้
2.ผ่าตัดเพื่อฝังรากฟันเทียม
-
เริ่มต้นด้วยการฉีดยาชาลงบนบริเวณเหงือก
-
เมื่อยาชาออกฤทธิ์จึงจะทำการฝังรากเทียม (Fixture) ลงไปในขากรรไกร เพราะฉะนั้นผู้เข้ารับการรักษาจะไม่รู้สึกเจ็บในขณะที่ทันตแพทย์ทำการฝังรากเทียม
-
เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนฝังรากเทียมทันตแพทย์จึงเย็บปิดเหงือกไว้
-
เมื่อครบ 1 อาทิตย์ทันตแพทย์จะนัดหมายให้มาตัดไหม
3.พักฟื้นเพื่อรอให้เซลล์กระดูกเข้ามายึดติดกับรากเทียม
หลังจากผ่าตัดต้องรอให้เซลล์กระดูกเข้ามายึดกับรากเทียมใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน
(ขึ้นอยู่กับสุขภาพช่องปากของผู้เข้ารับการรักษาแต่ละคน)
4. ใส่แกนฟันจำลอง
(coping)
ทันตแพทย์จะทำการแต่งเหงือกเพื่อให้เหงือกรับกับตัวครอบ ไขหัวน๊อตกันเหงือกออก จากนั้นจึงใส่แกนฟันจำลอง (coping) และพิมพ์ปากเพื่อส่งให้แล็บทำส่วนครอบครอบลงไป
เข้าพบทันตแพทย์เพื่อปรึกษาและตรวจช่องปาก เอกซเรย์ พิมพ์ฟันเพื่อประกอบการวางแผนการรักษา
ทันตแพทย์รากเทียมจะต้องประเมินทั้งสภาพกระดูก เหงือก และการสบฟัน เพื่อคุยแผนการรักษาและประเมินค่าใช้จ่ายกับคนไข้
5. นัดหมายเพื่อใส่ส่วนครอบ
ใส่แกนยึด (Abutment) ตัวจริงไขลงไปในรากเทียมที่ฝังไว้ก่อนหน้าและใส่ส่วนครอบ (Crown) ถือเป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการทำรากเทียม
การปลูกกระดูก
ร่วมกับการฝังรากเทียม
การปลูกกระดูกเป็นการรักษาทางทันตกรรมแก้ไขในเรื่องของกระดูกขากรรไกรไม่สมบูรณ์ให้มีปริมาณเพียงพอและสมบูรณ์แบบมากขึ้น
ในกรณีที่ผู้เข้ารับการรักษารากเทียมมีปริมาณกระดูกขากรรไกรหนาแน่นไม่เพียงพอ เกิดช่องว่างเว้าแหว่งจากการถูกถอนฟันหรือโรคทางทันตกรรมจนทำให้กระดูกขากรรไกรไม่เหมาะสมต่อการฝังรากเทียม ความสูงของกระดูกไม่เพียงพอต่อความยาวของรากเทียมจึงต้องมีการปลูกกระดูกร่วมด้วย โดยเราอาจจะนำกระดูกจากช่องปากของคนไข้ หรือ กระดูกเทียมก็ได้ ขึ้นกับความเหมาะสมของแต่ละเคส
ข้อดีของรากเทียม
-
สะดวกสบายไม่ต้องถอดออก-ถอดออก
-
เมื่อรับประทานอาหารไม่เกิดความรู้สึกเจ็บปวดเหมือนกับฟันปลอม เนื่องจากในขณะที่บดเคี้ยวอาหารแรงจะลงที่แกน ให้ความรู้สึกเหมือนฟันแท้
-
เสริมสร้างความมั่นใจเวลาเคี้ยว เนื่องจากให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ จากการที่แรงบดเคี้ยวลงกระดูกโดยตรง
วิธีดูแลรักษา
-
ดูแลทำความสะอาดโดยการแปรงฟันเหมือนฟันธรรมชาติ
-
หมั่นกลับมาตรวจเช็คกับทันตแพทย์ผู้รักษา