top of page

ศัลยกรรม

ศัลยกรรม

ฟันคุดคืออะไร

      ฟันคุดคือฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้เต็มซี่เองในช่องปากโดยมีสิ่งกีดขวางการขึ้นเช่น ฟันซี่ข้างเคียงหรือเหงือก โดยสาเหตุมาจากขากรรไกรมีพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการขึ้น 

ฟันฝังคืออะไร

      ฟันที่ไม่สามารถขึ้นในช่องปากได้ตามปกติเหมือนกับฟันคุด โดนล้อมด้วยกระดูกโดยรอบ มักอยู่ลึกกว่าฟันคุด พบในคนไข้ที่มีพื้นที่ในการเรียงของฟันไม่เพียงพอหรือบางรายที่มีจำนวนซี่ฟันเกิน มักพบบ่อยในตำแหน่งซี่ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อย หรือฟันหน้าบนในคนไข้ที่มีฟันเกิน

ฟันคุด/ฟันฝังส่งผลเสียอย่างไร

  1. ในระยะยาวจะทำให้กระดูกรอบรากฟันหรือรากฟันซี่ข้างเคียงละลายได้ เนื่องจากฟันคุดที่สามารถขึ้นพ้นเหงือกออกมาได้แต่อยู่ในลักษณะเอียงไม่เป็นไปตามแนวฟันเหมือนฟันที่ขึ้นปกติส่งผลให้มีแรงดันชนกับฟันซี่ข้างเคียง

  2. ฟันฝังส่งผลให้ฟันที่อยู่ข้างเคียงเปลี่ยนตำแหน่งไป หรือมีโอกาสทำให้รากฟันข้างเคียงเกิดการละลาย

  3. สามารถเกิดการผุของฟันได้ง่ายเนื่องจากไม่สามารถทำความสะอาดบริเวณนั้นได้ เมื่อเกิดการผุคนไข้มักจะไม่รู้ตัว เชื้อโรคสามารถผุทะลุถึงชั้นโพรงประสาทฟันได้เร็วกว่าปกติเนื่องจากบริเวณที่ฟันคุดขึ้นชนมีผิวชั้นเคลือบฟันและชั้นเนื้อฟันน้อยกว่าด้านบนของฟัน

Wisdom tooth

​4. บริเวณเหงือกที่ปกคลุมเกิดการอักเสบ เนื่องจากมีเศษอาหารที่คนไข้รับประทานเข้าไปตกค้างอยู่บริเวณใต้เหงือก ไม่สามารถทำความสะอาดได้ ส่งผลให้คนไข้เกิดอาการปวด บวม

จะทราบได้อย่างว่ามีฟันคุด/ฟันฝังหรือไม่

      ในลำดับแรกคนไข้สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตนเองว่ามีเนื้อฟันเล็กๆโผล่ขึ้นมาพ้นเหงือก คนไข้บางท่านอาจมีอาการปวดบวมร่วมด้วย แนะนำให้พบทันตแพทย์เพื่อเอกซเรย์ช่องปาก โดยการเอกซเรย์นี้จะทำให้เห็นสุขภาพช่องปากของคนไข้ได้เกือบทั้งหมด รวมถึงตำแหน่งฟันคุดและฟันฝัง 

      คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าฟันซี่สุดท้ายคือฟันคุดเสมอ แต่ตามความจริงแล้วหากฟันซี่สุดท้ายสามารถขึ้นได้เต็มซี่ ฟันซี่นั้นก็ไม่ได้ถือว่าเป็นฟันคุด 

ฟันคุดvsไม่ใช่ฟันคุด

ภาพด้านบนคือฟิล์ม X-ray ที่มีฟันคุดและฟันฝัง

ภาพด้านล่างคือฟิล์ม X-ray ที่ไม่มีฟันคุดและฟันฝัง

การผ่า/ถอนฟันคุดและฟันฝัง

มีโอกาสเกิดอันตรายหรือผลแทรกซ้อนอะไรหรือไม่

     ความเสี่ยงจากการการผ่า/ถอนฟันคุดและฟันฝังคล้ายกับความเสี่ยงจากการถอนฟันทั่วไปเช่น ความเสี่ยงจากอาการเลือดออกมาก ความเสี่ยงในการติดเชื้อ บางกรณีอาจเกิดอาการชาหลังการผ่า/ถอนฟันในซี่ฟันคุดที่มีความลึกและใกล้เส้นประสาทแต่ไม่มีผลต่อการควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้า

      ซึ่งสามารถจำกัดความเสี่ยงเหล่านี้ได้โดยการแจ้งประวัติโรคประจําตัวกับทันตแพทย์ผู้รักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำหลังการผ่า/ถอนฟันอย่างดี

คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังผ่าฟันคุด

คำถามที่พบบ่อย

  • สามารถจัดฟันได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่?
    การจัดฟันแบบติดแน่นส่วนใหญ่ทำในคนไข้ที่มีฟันแท้ขึ้นครบแล้ว แต่ในบางเคสที่คนไข้มีปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการของขากรรไกร ทันตแพทย์อาจจะให้ใส่เครื่องมือกระตุ้นการเจริญเติบโตของขากรรไกรก่อนใช้เครื่องมือแบบติดแน่นในเวลาต่อไป
  • จำเป็นต้องเคลียร์ช่องปากก่อนจัดฟันหรือไม่?
    จำเป็น หากไม่ทำการเคลียร์ช่องปากก่อนการจัดฟัน ในอนาคตเมื่อเกิดปัญหาจะทำรักษาค่อนข้างยาก ทำให้แผนการรักษาและระยะเวลาในการจัดฟันยืดเยื้อออกไปได้ ตัวอย่างหากคนไข้มีฟันคุดแต่ไม่ได้นำออกก่อนการจัดฟัน หลังจากการจัดฟันเสร็จฟันคุดจะดันฟันซี่ข้างเคียงส่งผลกระทบต่อการเรียงตัวของฟันเท่ากับว่าที่จัดฟันมานั้นเสียเปล่า
  • สามารถติดเครื่องมือบน - ล่าง พร้อมกันได้เลยหรือไม่?
    ปกติแล้วจะติดเครื่องมือด้านบนก่อนเนื่องจาก 1. คนไข้จะได้มีเวลาปรับตัวสำหรับเครื่องมือจัดฟันในช่องปาก 2. ฟันล่างในหลายๆเคส จะยังไม่สามารถติดเครื่องมือได้ เนื่องจาก พอฟันเรียงตัวไม่ดี เครื่องมือที่ติดบริเวณผิวของฟันล่าง จะชนกระแทกกับฟันบน ทำให้เครื่องมือหลุด 3. ในบางเคสอาจจะต้องเรียงฟันบนซักระยะนึงก่อนติดเครื่องมือข้างล่าง เพื่อให้ตำแหน่งและมุมฟันบนเอื้อต่อการติดเครื่องมือข้างล่างในตำแหน่งที่ถูกต้อง
  • หลังจากจัดฟันเสร็จต้องใส่รีเทนเนอร์ตลอดเวลาหรือไม่?
    ในช่วงปีแรกควรใส่ตลอดเวลา ยกเว้นแค่ตอนกินกับตอนแปรงฟัน หลังจากปีแรกให้ใส่เฉพาะเวลากลางคืนหรืออาจะวันเว้นวันเพื่อคงสภาพของฟันเพราะหลังจากจัดฟันมาฟันสามารถเคลื่อนที่ได้ เนื่องจากยังมีการกระทำของกล้ามเนื้อปาก ลิ้น ลักษณะขากรรไกรเดิมของคนไข้ซึ่งสามารถทำให้ฟันเคลื่อนที่ได้
  • วิธีทำความสะอาดรีเทนเนอร์
    ไม่ควรใช้ยาสีฟันในการทำความสะอาดเนื่องจากในยาสีฟันมีผงขัด ซึ่งขนาดของผงขัดแต่ละยี่ห้อไม่เท่ากัน เมื่อใช้แล้วจะทำให้รีเทนเนอร์ไม่เรียบเนียน เกิดหลุมเล็กๆ ทำให้เชื้อแบททีเรียเข้าไปฝังอยู่และเกิดความสกปรก ทันตแพทย์จึงแนะนำให้ทำความสะอาดด้วยสบู่หรือน้ำยาล้างจานจะดีที่สุด
bottom of page