top of page

รักษารากฟัน

โครงสร้างฟัน

TOOTH STRUCTURE

เนื้อฟัน

DENTIN

โพรงประสาทฟัน

PULP

เคลือบฟัน

ENAMEL

โครงสร้างฟัน

      โดยปกติเมื่อเกิดฟันผุในชั้นเคลือบฟันหรือชั้นเนื้อฟันสามารถรักษาได้โดยการอุดเพื่อปิดช่องทางไม่ให้เชื้อแบคทีเรียหรือเศษอาหารเข้าไปจนเกิดความเสียหายมากขึ้น

      แต่ถ้าหากมีการผุรุนแรงทะลุไปถึงชั้นโพรงประสาทฟันส่งผลให้ประสาทฟันและเนื้อเยื่อขนาดเล็กบริเวณนั้นเกิดการติดเชื้อ ลุกลามจนทำให้อักเสบและเสียหาย คนไข้ก็จะมีอาการปวด 

      การรักษาไม่สามารถใช้วิธีอุดเหมือนกับชั้นเคลือบฟันและชั้นเนื้อฟันได้ เพราะเชื้อโรคเข้าไปอยู่ไปชั้นโพรงประสาทฟันแล้ว หากใช้วิธีอุดก็จะยิ่งทำให้เชื้อโรคออกมาไม่ได้และลามลงไปด้านล่าง ส่งผลให้คนไข้มีอาการปวดมากขึ้นและติดเชื้อรุนแรง เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้การรักษาโดยวิธีรักษาราก 

รักษารากฟัน
รักษารากฟัน

รักษารากฟันคืออะไร

       คือการบูรณะฟันที่ผุรุนแรงโดยไม่จำเป็นต้องถอนออก  สามารถรักษาฟันซี่นั้นให้คงอยู่ได้โดยการกำจัดการติดเชื้อในชั้นโพรงประสาทฟัน

      หลักการรักษาคือการนำเอาประสาทฟันหรือเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่อักเสบและเสียหายออก ทำความสะอาดและรักษาส่วนที่เหลือเพื่อให้ปราศจากเชื้อจุลชีพ จากนั้นทำการอุดคลองรากฟันเพื่อกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำในคลองรากอีก ในคนไข้บางท่านจำเป็นต้องมีการปักเดือยและทำครอบฟันร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับปริมาณเนื้อฟันที่เหลือ หรือลักษณะการใช้งานของฟันซี่นั้น เช่น ควรครอบฟันต่อในฟันกราม เนื่องจากรับแรงบดเคี้ยวมาก เสี่ยงแตกหัก

ขั้นตอนการรักษารากฟัน 

ขั้นตอนรักษารากฟัน

1. เปิดทางเข้าสู่โพรงประสาทฟัน

2. กำจัดส่วนที่ผุหรือติดเชื้อออกทั้งหมด ทำความสะอาดและใส่ยาฆ่าเชื้อ

     หลังจากนำส่วนที่ติดเชื้อออกไปแล้ว ทันตแพทย์จะทำการวัดความยาวและขยายคลองรากฟัน จากนั้นนำเครื่องมือไปตะไบผนังคลองรากให้มีผิวเรียบเนียน ป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียไปเกาะอีก ทำความสะอาดคลองรากฟันและใส่ยาฆ่าเชื้อ โดยในคนไข้บางท่านจำเป็นต้องใช้เวลาหลายครั้งในการทำความสะอาดและใส่ยาฆ่าเชื้อจนสามารถขจัดเชื้อออกจนหมด

3. อุดปิดคลองรากฟัน 

     นำวัสดุอุดคลองรากฟันอุดลงไปปิดกั้นการติดต่อระหว่างภายในและภายนอกคลองรากฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อจุลชีพในช่องปากเข้ามาบริเวณคลองรากฟันและไม่ให้เชื้อจุลชีพที่อาจหลงเหลืออยู่บริเวณท่อเนื้อฟันลงไปสู่เนื้อเยื่อปลายรากฟัน

4. ใน Step 4 ถือเป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการรักษารากเทียม

    คนไข้บางท่านอาจมีการปักเดือยและทำครอบฟันร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับเนื้อฟันที่เหลืออยู่ร่วมกับความจำเป็นในการใช้งานของฟันซี่นั้น

5. ในกรณีที่ทำครอบฟันต่อ

     ทันตแพทย์จะทำการรื้อวัสดุอุดคลองรากฟันออกบางส่วน จากนั้นปักเดือยไฟเบอร์ (Fiber Post)ที่ทำหน้าที่เสมือนกับเสาเข็มเอาไป เพื่อยึดให้ส่วนครอบอยู่ได้ดีขึ้น 

6.ใส่ครอบฟัน 

ผลกระทบจากการรักษารากฟัน 

     เนื่องจากในการรักษาเป็นการนำเอาประสาทฟันและเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่เสียหายออก จึงทำให้หลอดเลือดบางส่วนหายไป สารอาหารไม่สามารถส่งไปเลี้ยงตัวฟันได้สมบูรณ์ ซึ่งส่งผลให้ฟันซี่นั้นเปราะมากขึ้น ในคนไข้บางท่านอาจมีสีฟันที่คล้ำลง แก้ไขได้โดยการทำครอบฟันหรือวีเนียร์ 

darken teeth.jpg
bottom of page